Thursday, February 14, 2013

การออกแบบตัวอักษร

ยิ่งรู้จักมันก็จะยิ่งมีสำนึกที่จะรู้ค่าของมัน– ประชา สุวีรานนท์

วันนี้ไปฟังคุณประชาพูดถึงเรื่องลิขสิทธิ์ของตัวอักษร นักเรียนอาจจะไม่เข้าใจความสำคัญของมันเท่าไหร่นัก สำหรับเรา เราคิดว่ามันใกล้ตัวเรามากเพราะเราเป็นคนที่ควรจะได้รับผลกระทบจากความคิดของเรื่องนี้โดยตรง เหมือนเพลง เหมือนโปรแกรม ตัวอักษรแต่ละแบบ มีคนที่ใช้ความสามารถสร้างมันขึ้นมา ถ้าเขาทำมันเพื่อขาย เขาก็ควรจะได้รับผลตอบแทนนั้นๆ 

ถ้านักเรียนยังไม่เห็นความสำคัญว่าตัวอักษรนั้นสำคัญอย่างไร ก็ลองนึกถึงว่าเวลาเราจำหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ เราจำพาดหัวข่าวแบบไหน หรือว่าเวลาเรานึกภาพหนังสือพิมพ์ times เราก็นึกถึง font times.
เวลาเรานึกถึงบทเรียนที่เราเรียนตอนประถม เราก็นึกถึงมานีมานะ แล้วเราก็นึกถึงแบบตัวหนังสือที่เราอ่านมัน

ผมเคยอยากเรียนสถาปัตย์ เหตุผลหลักๆเลยเพราะผมรู้สึกว่าเราได้ออกแบบสิ่งก่อสร้างที่น่าจะเกือบถาวรที่สุด ผ่านไปยี่สิบปี ผมสามารถบอกลูกผมได้ว่าพ่อเป็นคนออกแบบอาคารนี้ ชีวิตพาผมมาเป็นคนออกแบบสิ่งพิมพ์ สิ่งที่เกือบจะถาวรน้อยที่สุด ถ้ากระดาษแผ่นนึงไม่มีค่าพอให้คนเก็บ คนก็อาจจะทิ้งกระดาษแผ่นนั้นทันทีที่เขาได้รับ สิ่งนึงที่ทำให้ผมอยากทำตัวอักษรเป็นก็เพราะผมมองว่ามันอยู่นานกว่าสิ่งพิมพ์ สิ่งพิมพ์อาจถูกทิ้ง แต่แบบตัวอักษรยังปรากฎอยู่ในสื่ออื่นๆหลากหลาย หากมันเป็นแบบที่เข้ากับงานได้หลายแบบ อ่านง่าย ในขณะเดียวกันก็สามารถแสดงบุคลิกภาพที่เป็นตัวของตัวเอง มันก็อาจจะแพร่หลาย และถูกใช้อยู่เรื่อยๆ

ผมหวังว่านักเรียนออกแบบ เมื่อผ่านประสบการณ์มากขึ้น จะหันกลับมาคิดถึงสิ่งที่ได้ฟังวันนี้จากคุณประชา ว่ามันมีประเด็นให้เรานึกถึงทุกครั้งที่เรากำลังจะเลือกใช้แบบตัวอักษร